ข้อความวิ่ง

ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์ของ Supawadee thosunjit

บทที่ 3

1.จงเรียงลำดับโครงสร้างข้อมูลจากขนาดเล็กไปใหญ่ พร้อมอธิบายความหมายของโครงสร้างข้อมูลแต่ละแบบ


     บิต (Bit) เป็นโครงสร้างข้อมูลที่เล็กที่สุดที่เครื่องรู้จัก อยู่ในรูปของสัญญาณไฟฟ้าประกอบด้วยเลข 0 กับ 1 ถ้าเป็นเลข 0 แสดงว่าไม่มีสัญญาณไฟฟ้า แต่ถ้าเป็นเลข 1 แสดงว่ามีสัญญาณไฟฟ้า

    ไบต์ (Byte)  คือ กลุ่มของบิตที่เป็นรหัสใช้แทนตัวอักษร 1 ตัว โดยปกติแล้ว 8 บิต คือ 1 ไบต์ หรือ 1 ตัวอักษร (Character) ดังนั้นตัวอักษร 1 ตัว อาจจะเรียกว่า 1 ไบต์ ก็ได้

    เขตข้อมูล/ฟิลด์ (Field) คือ หน่วยของข้อมูลที่เกิดจากการนำตัวอักษรหลาย ๆ ตัวมารวมกัน เป็นคำที่มีความหมาย เช่น ฟิลด์ชื่อนักศึกษา ฟิลด์ตัวเลขเงินเดือน ฟิลด์รหัสประจำตัวพนักงาน ฟิลด์คะแนนแต่ละวิชา   เป็นต้น

    ระเบียน/เรคคอร์ด (Record) คือ รายการข้อมูลแต่ละรายการประกอบไปด้วยฟิลด์ต่าง ๆ มารวมกัน เช่น รายการข้อมูลของพนักงานแต่ละคน รายการของสินค้าแต่ละชิ้น รายการของนักศึกษาแต่ละคน เป็นต้น

    แฟ้มข้อมูล/ ไฟล์ (File) คือ กลุ่มของรายการข้อมูลที่เหมือนกันมารวมกัน เช่น แฟ้มเก็บข้อมูลทะเบียนประวัตินักศึกษา   แฟ้มเก็บข้อมูลรายชื่อสินค้า   แฟ้มเก็บข้อมูลรายชื่อหนังสือในห้องสมุด   แฟ้มเก็บข้อมูลประวัติพนักงานในบริษัท  เป็นต้น

    ฐานข้อมูล (Database) คือ หน่วยของข้อมูลที่มีการนำแฟ้มข้อมูลหลาย ๆ แฟ้มข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กันมารวมกัน เช่น ฐานข้อมูลในระบบทะเบียนนักศึกษา ประกอบด้วยแฟ้มข้อมูลรายวิชา แฟ้มข้อมูลนักศึกษา แฟ้มข้อมูลการลงทะเบียน และแฟ้มข้อมูลผลการเรียน เป็นต้น

2.จงอธิบายความแตกต่างระหว่างการประมวลผลข้อมูลแบบแบชและแบบเรียลไทม์

การประมวลผลแบบกลุ่ม (batch processing) หมายถึง การประมวลผลในเรื่องที่สนใจเป็นครั้งๆ เช่น เมื่อต้องการทราบผลสำรวจความนิยมของประชาชนต่อการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือที่เรียกว่า โพล (poll) ก็มีการสำรวจข้อมูลโดยเก็บรวบรวมข้อมูล เมื่อเก็บรวบรวมข้อมูลได้แล้ว ก็นำมาป้อนเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ แล้วนำข้อมูลนั้นมาประมวลผลตามโปรแกรมที่ได้กำหนดไว้ เพื่อรายงานผล หรือสรุปผลหาคำตอบ กรณีการประมวลผลแบบกลุ่มจึงกระทำในลักษณะเป็นครั้งๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ โดยจะต้องมีการรวบรวมข้อมูลไว้ก่อน
ตัวอย่างเช่น ระบบลงทะเบียนของนักเรียน



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น